วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 2. ไอทีคืออะไร


บทที่ 2. ไอทีคืออะไร



ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  •   เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่

  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • เทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคม
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
      คอมพิวเตอร์ หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามชุดคำสั่ง โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้




เทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคม

      ทำหน้าที่เผยแพร่ แลกเปลี่ยนสาสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการในแหล่งต่างๆ  ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องครบถ้วนและทันสถานการณ์

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศในที่นี้จะแบ่งตามขนาดออกเปผ็น 3 ขนาด ได้แก่
  1. ขนาดเล็ก เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
  2. ขนาดกลาง เช่น อินเตอร์เน็ต
  3. ขนาดใหญ่ เช่น ระบบเครือข่าย การประชุมทางไกล
  • เทคโนโลยีขนาดเล็ก
คอมพิวเตอร์ (Computer)
  -ยุคแรก เครื่องมีขนาดใหญ่ ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง
 - ปัจจุบัน มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง
สมาร์ทโฟน (Smart Phone)
 - เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่วไป
 - มีลักษณะคล้ายเป็นคอมพิวเตอร์พกพา
 - ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ได้ด้วยตนเอง
แท็บแล็ต (Tablet)
- เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาเคลื่อนที่ได้
- ใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน
- พัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
- มีขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำหนักเบา สามารถถือได้ด้วยมือเดียวสะดวกต่อการพกพา
GPS 
- เป็นระบบที่ใช้แสดงตำแหน่งบนพื้นโลก
- โดยกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม
Smart Card 
- เป็นบัตรพลาสติกที่มีชิป (IC) ติดหรือฝังอยู่ในตัวบัตรพลาสติก
- มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต
- ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- ประมวลผลภายในตัวเองโดยวิธีการเข้ารหัสตามมาตรฐานเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยสูงขึ้น


  • เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลาง 

อินเตอร์เน็ต (Internet)
- เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก
- มีผู้ใช้งานหลายล้านคน
- ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
- ปัจจุบันมีการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายรูปแบบ เช่น 3G, 4G เป็นต้น
โทรทัศน์ตามสาย ผ่านดาวเทียม ไอพีทีวี  
- การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่างๆ ไปยังผู้ชม ทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น
- ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่ออื่นๆ ได้มากขึ้น
กล้องวงจรปิด 
- เป็นระบบที่ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย
- ใช้เพื่อสอดส่องดูแลเหตุการณ์ต่างๆ ที่นอกเหนือจากความปลอดภัย

  • เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่
ระบบเครือข่าย (Networking System)
- เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ได้ภายในระยะทางที่กำหนด
- มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร
การประชุมทางไกล (Teleconference) 
- เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผสมผสาน
- เพื่อสนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ
- ประหยัดเวลาในการเดินทาง
การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม
-การนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่างๆ
-การเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (CAI)"
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD)
-เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการออกแบบ เช่น
•ผลิตภัณฑ์
•รูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์
•การออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
•ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ
เทคโนโลยีบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID)
•เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
•มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag)
•สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง
QR Code
•เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ
•สามารถเก็บข้อมูลต่างๆได้
•สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็ว
•ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ "QR Code"

บทบาทของระบบสารสารสนเทศ

            ระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตของเรา โดยสามารถแบ่งตามบทบาทของระบบสารสนเทศได้ดังนี้

-ระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ด้านการศึกษา
•การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
•ระบบการศึกษาทางไกล
•การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ด้านการเงินการธนาคาร
•ระบบทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
•ระบบชำระค่าน้ำค่าไฟฟ้า

ด้านการสาธารณสุข
•โครงการแพทย์ทางไกล โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคม
•มีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อเฝ้าดูแลผู้สูงอายุ

ด้านความบันเทิงและบริการทั่วไป
•เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการของแต่ละธุรกิจได้ง่ายขึ้น
•ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของลูกค้า
•เป็นการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

ด้านหน่วยงานรัฐบาล
•ระบบภาษีออนไลน์

-ระบบสารสนเทศในมหาวิทยาลัย
ระบบบริการการศึกษา หรือระบบทะเบียน
•พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานของนิสิตในด้านข้อมูลการศึกษา

ระบบหอสมุด
•พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานของนิสิตในด้านการค้นหาสารสนเทศต่างๆ

-ระบบสารสนเทศในในภาคธุรกิจ
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
ลักษณะของระบบสารสนเทศก่อนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร
- การขาดการประสานรวมกันของระบบงาน
-ข้อมูลซ้ําซ้อน และขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- การขาดความรวดเร็วในการตอบสนอง -ขาดความสามารถด้าน Globalization -ความไม่ยืดหยุ่นของระบบ
•การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ CRM
•บริการโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

ทิศทางในอนาคตของเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านดังนี้

1. การลดขนาดอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ (Miniaturization)
2. ความเร็วในการทํางาน (Speed) 3. ความสามารถในการซื้อ (Affordability)


ทิศทางของเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม

1. ด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) 2. ด้านการสื่อสารแบบโต้ตอบ (Interactivity) 3. ด้านสื่อประสม (Multimedia)

ทิศทางของเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1. การหลอมรวมเทคโนโลยี (Convergence) 2. การพกพาและเคลื่อนที่ (Portability and Mobility) 3. เทคโนโลยีส่วนบุคคล (Personalization) 4. การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing


จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPAประกอบด้วย

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น